Pages

Wednesday, July 25, 2012

ไฟลัมคอร์ดาตา Chordata




จากที่คาดว่าโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตมากกว่า 50 ล้านชนิด เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อแล้ว 1.7 ล้านชนิด เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง 43,853 ชนิด ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย และตั้งชื่อแล้ว 4,094 ชนิด นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก และมนุษย์อย่างยิ่ง

สิ่งมีชีวิตในไฟลัมคอร์ดาตาทั้งหมดเป็นสัตว์หลายเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง และต้องการใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน พวกคอร์เดตโดยทั่วไปจะมีบางลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่บางลักษณะก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilaterally symmetrical) ร่างกายมีลักษณะเป็นปล้อง และมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น การเกิดช่องตัวเป็นแบบเอนทีโรซีลา (enterocoela) เช่นเดียวกับพวกเอคไคโนเดิร์ม (เป็น Deuterostromes เช่นเดียวกับเอคไคโนเดิร์ม) มีระบบอวัยวะที่แบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบปิดโดยมีหัวใจ ทำหน้าที่ สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย และมีเพศแยกกัน เป็นต้น

ลักษณะที่สำคัญ

การมีโนโตคอร์ด (notochord) พวกคอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโนโตคอร์ดอย่างน้อยช่วงหนึ่งของชีวิต พวกคอร์เดตชั้นต่ำ เช่น แอมฟิออกซัสจะมีโนโตคอร์ดตลอดชีวิต พวกคอร์เดตชั้นสูง เช่น สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง จะมีโนโตคอร์ดในระยะตัวอ่อนเท่านั้น พอเจริญเติบโตจะเกิดกระดูกสันหลังขึ้นมาแทนที่โนโตคอร์ด ลักษณะของโนโตคอร์ดจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นมีโซเดิร์ม ประกอบด้วย กลุ่มเซลล์ที่ค่อนข้างอ่อนคล้ายวุ้น แต่มีเปลือกหุ้ม (sheath) หุ้มอีกชั้น ทำให้มีลักษณะเป็นแท่ง แข็งแรง แต่ยืดหยุ่นได้ดี และไม่แบ่งเป็นปล้อง แท่งโนโตคอร์ดเป็นโครงสร้างค้ำจุนที่อยู่ทางด้านหลัง ใต้ระบบประสาทส่วนกลาง แต่อยู่เหนือทางเดินอาหาร [notochord = a rod-shaped supporting axis, or backbone]การมีช่องเหงือก (pharyngeal gill slits) คอร์เดตทุกชนิดโดยเฉพาะพวกที่อยู่ในน้ำจะมีช่องเหงือกตลอดชีวิต ส่วนพวกที่อาศัยอยู่บนบกจะพบช่องเหงือกในระยะตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้นช่องเหงือกจะปิด ซึ่งอาจจะพบร่องรอยเพียงเล็กน้อย (ในคนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นท่อยูสเตเชียนเชื่อมระหว่างหูส่วนกลางกับหลอดลมบริเวณคอ) การเกิดช่องเหงือกจะเกิดขึ้นในบริเวณคอหอยของตัวอ่อน โดยบริเวณคอหอยจะโป่งออกไปนอกผิวตัวทางด้านข้าง และมีรอยแตกเป็นช่องเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะหายใจ พวกแอมฟิออกซัส ปลาปากกลม ปลาฉลาม ตลอดจนปลากระดูกแข็งจะดูดน้ำเข้าทางปาก และผ่านออกทางช่องเหงือก ทำให้เกิดการหายใจขึ้น พวกสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่บนบก และหายใจด้วยปอดจะมีช่องเหงือกในระยะตัวอ่อน และ (อาจจะ) ทำหน้าที่ หายใจในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้นการมีระบบประสาทด้านหลัง (Dorsal Hollow Nerve Cord) คอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโครงสร้างนี้ตลอดชีวิต มีลักษณะเป็นท่อยาวตลอดลำตัวทางด้านหลัง เส้นประสาททางด้านหัวอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นสมอง ส่วนทางด้านท้ายเจริญเป็นไขสันหลัง (spinal cord) การเกิดระบบประสาทนี้เกิดขึ้นในระยะตัวอ่อน โดยการม้วนตัวเข้าหากันของเนื้อเยื่อชั้นเอคโตเดิร์มทางด้านหลังกลายเป็นท่อฝังอยู่ใต้ผิวหนัง

สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. พวกที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เรียกว่า Protochordata

Sub-Phylum Urochordata มีลักษณะ คือ ตัวอ่อนมี Notochord เป็นแกนของร่างกายอยู่บริเวณหาง และมีช่องเหงือก เมื่อเจริญเติบโตเต็มวัย ส่วนหางจะหลุดไป จึงไม่มี Notochord เหลืออยู่ ลักษณะที่สำคัญ คือ มีปลอกหุ้มอยู่รอบตัวเป็นสารจำพวกเซลลูโลส ได้แก่ เพรียงลอย เพรียงหัวหอม เพรียงลายSub-Phylum Cephalochordata สัตว์จำพวกนี้มี Notochord ยาวตลอดลำตัว และยาวเลยไปถึงหัวด้วย และจะมีอยู่ตลอดชีวิต ได้แก่ แอมฟิออกซัส (Amphioxus)

2. พวกที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ Sub-Phylum Vetebrata

มีลักษณะสำคัญ

เป็นสัตว์ชั้นสูงมีจำนวนมาก มี Notochord ในระยะเอมบริโอ ต่อมามีกระดูกสันหลังมาแทนที่ มีรยางค์ 2 คู่ (ยกเว้นปลาปากกลม) มีเม็ดเลือดแดง มีช่องเหงือกบริเวณคอหอยในระยะตัวอ่อน แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นช่องเหงือกจะปิด และมีปอดขึ้นมาแทน

สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งได้ 7 Class ได้แก่

Class Cyclostomata หรือ Class Agnatha ได้แก่ ปลาปากกลม พวกนี้ไม่มีขากรรไกร ลำตัวยาวคล้ายปลาไหล ขอบบนของปากและลิ้นมีฟันเล็กๆ แหลมคมมากมาย ลำตัวนิ่ม ไม่มีเกล็ด ไม่มีครีบคู่เหมือนปลาทั่วไป เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีโนโตคอร์ดปรากฏอยู่ตลอดแม้ในระยะตัวเต็มวัย มีช่องเหงือก 7 คู่ สำหรับหายใจClass Chondricthyes ได้แก่ ปลากระดูกอ่อนทั้งหลาย มีช่องเหงือกเห็นชัดเจนจากภายนอก มีครีบคู่ หรือครีบเดี่ยว มีเกล็ดลักษณะคล้ายจานยื่นออกมา ไม่มีกระเพาะลม มีปากอยู่ด้านท้อง มีการปฏิสนธิภายใน เป็นสัตว์เลือดเย็น เช่น ปลากระเบน ปลาฉลาม ปลาโรนัน ปลากระต่าย ปลาฉนากClass Osteicthyes ได้แก่ ปลากระดูกแข็งทั้งหลาย มีแผ่นแก้มปิดช่องเหงือกเอาไว้ มีเกล็ดบางๆ เรียงเหลื่อมกันคล้ายแผ่นกระเบื้องมุงหลังคา กระดูกภายในเป็นกระดูกแข็ง มีกระเพาะลม ปากอยู่ปลายสุดทางหัว ส่วนใหญ่ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เป็นสัตว์เลือดเย็น มีหัวใจ 2 ห้อง ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาทู ปลาตะเพียน ม้าน้ำ ฯลฯ
Class Amhibia ได้แก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มี 4 ขา มี 5 นิ้ว ปลายนิ้วไม่มีเล็บ ตัวอ่อนอยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ตัวเต็มวัยอยู่บนบกหายใจด้วยปอด มีหัวใจ 3 ห้อง ออกไข่ในน้ำ ผิวหนังไม่มีเกล็ด ผิวหนังเปียกชื้น มีต่อมเมือก ผสมพันธุ์ภายนอก มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อการเจริญเติบโตเป็นสัตว์เลือดเย็น ได้แก่ คางคก เขียด อึ่งอ่าง ปาด กบ งูดิน ซาลาแมนเดอร์
Class Reptilia ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ในคลาสนี้เป็นสัตว์บก หรือวางไข่บนบก มี 4 ขา ปลายนิ้วมีเล็บ ผิวหนังมีเกล็ดแห้ง หายใจด้วยปอด มีอายุยืน มีหัวใจ 4 ห้อง เป็นสัตว์เลือดเย็น มีวิวัฒนาการ คือ มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว ไข่มีเปลือกแข็งและเหนียว มีถุงแอลเลนทอยส์ ทำหน้าที่ แลกเปลี่ยนก๊าซ ขณะเจริญเติบโตในไข่ เช่น เต่า จระเข้ ตุ๊กแก จิ้งเหลน จิ้งจก งู กิ้งก่า ฯลฯ
Class Aves ได้แก่ สัตว์ปีก เป็นสัตว์เลือดอุ่น ลำตัวมีขน (Feather) ปกคลุม ขามี 2 ข้าง นิ้วมีเล็บ ขาหน้าเปลี่ยนแปลงเป็นปีก กระดูกบางเป็นโพรง จึงมีน้ำหนักตัวเบา มีถุงลม แทรกไปตามช่องว่างของลำตัว และตามโพรง ซึ่งทำให้มีอากาศมากพอที่จะหมุนเวียนใช้หายใจเวลาบิน มีหัวใจ 4 ห้อง ไข่มีเปลือก แข็งหุ้ม มีปริมาณไข่แดงมาก ไม่มีกระเพาะปัสสาวะ ไม่มีต่อมเหงื่อ ไม่มีต่อมน้ำนม ปฏิสนธิภายใน ตัวเมียมีรังไข่ข้างเดียว เส้นประสาทสมองมี 12 คู่ เช่น นกประเภทต่างๆ ทั้งที่บินได้และบินไม่ได้
Class Mammnlia ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เราเรียกสัตว์พวกนี้ว่า แมมมอล (Mammal) เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้นๆ (Hair) คลุมตัว มี 4 ขา มีต่อมเหงื่อ และต่อมน้ำนม มีกระดูกคอ 7 ข้อ มีฟันฝังในขากรรไกร มีกล่องเสียง มีกระบังลม หายใจด้วยปอด หัวใจมี 4 ห้อง เม็ดเลือดแดงไม่มีนิวเคลียส ลูกอ่อนเจริญภายในมดลูก สมองส่วนหน้าเจริญดี ได้แก่
-ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด ออกลูกเป็นไข่
-จิงโจ้ มีถุงหน้าท้อง
-สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ที่ตัวอ่อนมีรก (Placenta) เช่น ลิงกัง ลิงแสม ลิงชิมแปนซี ชะนี เสือ แมว สุนัข สุกร สิงโต หมาใน หมี พังพอน โค กระบือ ช้าง ม้า มนุษย์ หนู ค้างคาว นางอาย ปลาวาฬ โลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล ฯลฯ

ที่มา :
[ ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ ]