Pages

Saturday, July 28, 2012

ถึงเวลาแล้ว สำหรับการศึกษาทางไกล เมื่อตลาด E-learning เติบโตสู่โมบายล์ในเอเชีย

จากความนิยมและแพร่หลายในการใช้งานแท็ปเล็ต และโทรศัพท์มือถือในเอเชีย ส่งผลให้ธุรกิจการเรียนแบบ E-Learning เติบโต สามารถเผยแพร่หลักสูตรและเนื้อหาของ E-learning สู่ผู้เรียน ที่สามารถเข้าถึงผ่านอุปกรณ์ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น


การศึกษาทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนการสอน หรือที่เราเรียกว่า E-Learning ได้รับการพัฒนารูปแบบของเนื้อหา หลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งแก้ปัญหาสถานที่เรียนไม่พอ และการเดินทางไปเรียนซึ่งยากลำบาก จริงๆแล้วการศึกษาทางไกลนั้นมีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับการศึกษาทางไกลมาหลายปี แต่ระยะหลังๆนี้ ยอมรับว่า อุปกรณ์แท็ปเล็ตและโมบายล์เข้ามาเปิดโอกาสในการเข้าถึงให้ง่ายขึ้น


โดยคุณ Carsten Rosenkranz ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒาธุรกิจของผู้ให้บริการการศึกษาผ่าน อี-เลิร์นนิ่ง ได้กล่าวว่า จากความนิยมและแพร่หลายของแท็ปเล็ต และสมาร์ทโฟน หลายๆบริษัทในเอเชียเริ่มที่จะวางแผนหาช่องทางที่ยืดหยุ่นในการนำเสนอแบบเรียนและหลักสูตรการเรียนการสอนไปสู่ผู้เรียน


ด้าน Ian Huckabee CEO ของบริษัทที่สร้างแพล็ตฟอร์มอี-เลิร์นนิ่ง WeejeeLใน North Carolina ได้สนับสนุนว่า ก่อนหน้านี้บริษัทไม่ได้มีลูกค้าในเอเชียเลย แต่เขาก็สังเกตว่าตลาดโลกกำลังเพ่งความสนใจไปที่อุปกรณ์โมบายล์ในอาเซียน และพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรให้สอดคล้องกับตลาดท้องถิ่น


ส่วนทาง Rosenkranz ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การศึกษาทางไกลผ่านโมบายล์ เลิร์นนิ่ง นั้นเหมือนกับการเรียนแบบพกพา เพียงแค่ใช้เวลาว่างในการเข้าถึงผ่านอุปกรณ์พกพา แต่คงต้องดูกันต่อไปถึงเทรนด์ของการใช้อุปกรณ์กับการศึกษาทางไกล เพราะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น


บริษัทที่พัฒนาแพล็ตฟอร์มการเรียนรู้ได้เสริมอีกว่า บริษัทในอาเซียน เริ่มพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลในหลากหลายช่องทาง ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยเขาเชื่อว่า บริษัทในอาเซียนพัฒนาหลักสูตรและวิธีการนำเสนอการศึกษาทางไกล เนื่องจากเหตุผลของด้านงบประมาณที่จำกัด โดยองค์กรขนาดใหญ่อย่างเช่น เทลโก้ สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิวเคชั่น ธนาคารอย่าง UOB และ DBS ต่างก็เข้ามาช่วยเหลือธุรกิจอี-เลิร์นนิ่ง และยิ่งไปกว่านั้น หลายๆบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม ก็ทำเช่นนี้เหมือนกัน


อย่างไรก็ตาม Rosenkranz ได้ให้ความเห็นว่า อี-เลิร์นนิ่งยังคงอยู่ในช่วงแรกของการพัฒนาในภูมิภาคนี้ เขาคาดว่า ประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของบริษัทกว่า 500 บริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และใช้อีเลิร์นนิ่งในด้านการศึกษา


E-learning กำลังเข้าสู่ยุคของสังคมออนไลน์มากขึ้น 


ในขณะที่เทรนด์ mobility เป็นอนาคตของอี-เลิร์นนิ่ง หลายๆบริษัทก็มีการนำเอาซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนคลาวด์มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการ SCORM (Sharable Content Object Reference Model) คือโมเดลของการแชร์คอนเทนต์ผ่านการอ้างอิงเนื้อหาโดยใช้โซเชียลในการขับเคลื่อนเพื่อการจัดการและแก้ปัญหา และอนาคตต่อไปของอี-เลิร์นนิ่งจะใช้ระบบการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงกับผู้เรียน วัดผลการเรียนรู้ และนำไปสู่การร่วมกันนำเสนอผ่านเครื่องมือของโซเชียล


นอกจากนี้ Huckabee ยังบอกอีกว่า การศึกษาทางไกลจะนำโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ได้รับความนิยมสูงอย่าง Facebook และ YouTube มาใช้เป็นช่องทางในการนำเสนอเพื่อการศึกษา ซึ่งโซเชียลมีเดียและวีดีโอจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในช่วงเริ่มต้น


ส่วนการนำการศึกษาทางไกลมาช่วยในการเรียนในห้องเรียนนั้น ทำให้การเรียนรู้ไม่เหมือนยุคก่อน โดยสามารถที่จะนำการศึกษาทางไกลไปใช้ในการทบทวนบทเรียนย้อนหลังได้ แม้ว่าการนั่งในห้องเรียนจะสามารถยกมือถามอาจารย์ได้ แต่การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน โดยบางคนสามารถขอคำอธิบายของอาจารย์เฉพาะจุดที่ตนไม่เข้าใจ โดยไม่ต้องกลัวว่าเพื่อนๆในห้องจะเสียเวลาเรียนเพราะอาจารย์มัวแต่ตอบคำถามนักเรียน โดยเทคโนโลยีที่นำมาใช้ก็คือ กล้องเว็บแคมที่สามารถทำได้เหมือนกับการเรียนในห้องเรียน


ที่มา : ไอที  24 ชั่วโมง